โครงงานเรื่อง สารเสพติด

ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดย การกิน ดม สูบ ฉีด หรือ ด้วยประการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผล ต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น
– ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ
– มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา
– มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
– สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง

ประเภทของยาเสพติด
ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.๑ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น
๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๒.๑ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน
๒.๒ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน
๒.๓ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำ
ไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติดได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย
๒.๔ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์
๒.๕ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา
๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ
๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม
๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
๔.๗ ประเภทใบกระท่อม
๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่

วิธีการป้องกันอันตรายจากสารเสพติดมีดังต่อไปนี้
1.การป้องกันตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกคบเพื่อนที่ไม่มั่วสมสิ่งเสพติด
2.การป้องกันในครอบครัว ต้องให้ความรักความเข้าใจ และอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษของสิ่งเสพติด
3.การป้องกันในสถานศึกษา ควรให้ความรู้ซึ่งสิ่งเสพติด จัดนิทรรศการและการรณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด ไปศึกษาดุงาน ณ สถานบำบัด
ผู้ติดยาเสพติด
4.การป้องกันในชุมชน ควรจัดสถานที่ออกกำลังกาย และจัดกลุ่มแม่บ้านให้ความรู้เรื่องสิ่งเสพติด

โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ดังนี้
1.โทษต่อร่างกาย สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ดวงตาพร่ามั่ว น้ำหนักลด ร่างกายซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ เครียด เป็นต้น
2.โทษต่อผู้ใกล้ชิด ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3.โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
4.โทษต่อประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ

  1. No trackbacks yet.

ใส่ความเห็น